วันเสาร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ครั้งที่ 7
วันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561
วันนี้เพื่อนออกมานำเสนองาน 

คนแรกนำเสนอบทความ เรื่อง เสริมการเรียนเลขให้กับลูก พ่อแม่ต้องเป้นแบบอย่างที่ดีและเรียนรู้ไปพร้อมกัน ให้ลูกมีวิธีกระบวนการคิดที่ดี 

คนที่สองนำเสนอวิจัย เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเพาะปลูกพืช เพื่อให้เด็กมีทักษะพื้นฐานทางคณิตที่ดีและรู้จักด้านการรู้ค่าจำนวน การเปรียบเทียบและการเรียงลำดับของจำนวนคณิต 

ประเมินตัวเอง : เข้าเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจฟังเพื่อน

ประเมินเพื่อน: วันนี้เพื่อนออกมานำเสนองานดี เพื่อนให้ความร่วมมือดีค่ะ

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์อธิบายเนื้อหาเพิ่มเติมให้ เพื่อความเข้าใจของตัวเราเอง 

วันจันทร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ครั้งที่ 6
วันพุธที่ 14 กุมภาพันธ์ 2561
วันนี้เรียนเรื่องทฤษฎีพัฒนาการด้านสติปัญญาของเพียเจท์ การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่างๆตามลำดับขั้น แต่ในที่นี่เราจะมาเรียนรู้ในเรื่องของ รูปธรรม-นามธรรม พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กสามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้ เด็กสามารถที่จะเข้าใจเหตุผล รู้จักการแก้ปัญหาสิ่งต่างๆ ที่เป็นรูปธรรมได้ สามารถที่จะเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องความคงตัวของสิ่งต่างๆ โดยที่เด็กเข้าใจว่าของแข็งหรือของเหลวจำนวนหนึ่งแม้ว่าจะเปลี่ยนรูปร่างไปก็ยังมีน้ำหนักหรือปริมาตรเท่าเดิม สามารถที่จะเข้าใจความสัมพันธ์ของส่วนย่อย ส่วนรวม ลักษณะเด่นของเด็กวัยนี้คือ ความสามารถในการคิดย้อนกลับ นอกจากนั้นความสามารถในการจำของเด็กในช่วงนี้มีประสิทธิภาพขึ้น สามารถจัดกลุ่มหรือจัดการได้อย่างสมบูรณ์ สามารถสนทนากับบุคคลอื่นและเข้าใจความคิดของผู้อื่นได้ดี



ต่อมาอาจารย์ได้เปิดพอยด์ให้ดูเกี่ยวกับทฤษฎีของเพียเจท์
ความรู้ทางคณิตศาสตร์ตามหลักเพียเจท์
เพียเจท์ ได้แบ่งความรู้ทางคณิตศาสตร์ ตามหลักพัฒนาการทางคณิตศาสตร์ของเด็กออกมาเป็น 2 ชนิด
1.ความรู้ด้านกายภาพ เป็นความรู้ที่ได้รับจากการใช้ประสาทสัมผัส เป็นความรู้ภายนอกที่เกิดจาก
ปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมโดยตรง
2.ความรู้ด้ายเหตุผลทางคณิตศาสตร์ เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นภายในที่เกิดจากการเชื่อมโยงเข้ากับทฤษฎีโดยการลงมือกระทำที่เป็ผลสะท้อนนั้นเอง คือ ความรู้ด้านเหตุผลคณิตศาสตร์จะเกิดขึ้นหลังจากที่เด็กได้ลงมือกระทำเชื่อมโยงจากข้อเท็จจริงที่เห็นไปสู่ความเข้าใจหรือความคิดรวบยอด

ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
ประกอบด้วยหัวข้อของเนื้อหาหรือทักษะ 
1. การนับ (counting) เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จัก เป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลำดับตั้งแต่ 1-10 หรือมากกว่านั้น
2. ตัวเลข (Numeration) เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กเล่นของเล่นเกี่ยวกับตัวเลข ให้เด็กได้นับและคิดเอง โดยครูเป็นผู้วางแผนจัดกิจกรรม อาจมีการเปรียบเทียบแทรกเข้าไปด้วย เช่น มากกว่า น้อยกว่า 
3. การจับคู่ (Matching) เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตลักษณะต่าง ๆ และจับคู่สิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกัน หรืออยู่ประเภทเดียวกัน
4. การจัดประเภท (Classification) เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตคุณสมบัติของสิ่งต่าง ๆ ว่ามีความแตกต่างกันหรือเหมือนกันในบางเรื่อง และสามารถจัดเป็นประเภทต่าง ๆ ได้
5. การเปรียบเทียบ (Comparing) เด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า รู้จักใช้คำศัพท์ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า หนักกว่า เบากว่า 
6. การจัดลำดับ (Ordering) เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดหนึ่ง ๆ ตามคำสั่งหรือตามกฎ เช่น จัดบล็อก 5 แท่งที่มีความยาวไม่เท่ากัน ให้เรียบตามลำดับจากสู่ไปต่ำ หรือจากสั้นไปยาว 
7. รูปทรงและเนื้อที่ (Shape and Space) นอกจากให้เด็กได้เรียนรู้รูปทรงและเนื้อที่จากการเล่นตามปกติแล้ว ครูยังต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับวงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความลึก ตื้น กว้างและแคบ
8. การวัด (Measurement) มักให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเอง ให้รู้จักความยาวและระยะทาง รู้จักการชั่งน้ำหนักและรู้จักการประมาณอย่างคร่าว ๆ ก่อนที่เด็กจะรู้จักการวัด ควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบและการจัดลำดับมาก่อนที่เด็กจะรู้จักการวัด ควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบและการจัดลำดับมาก่อน
9. เซท (Set) เป็นการสอนเรื่องเซทอย่างง่าย ๆ จากสิ่งรอบ ๆ ตัว มีการเชื่อมโยงกับสภาพรวม เช่น รองเท้ากับถุงเท้า ถือว่าเป็นหนึ่งเซท หรือห้องเรียนมีบุคคลหลายประเภท แยกเป็นเซทได้ 3 เซท คือ นักเรียน ครูประจำชั้น ครูช่วยสอน 
10. เศษส่วน (Fraction) ปกติแล้วการเรียนเศษส่วนมักเริ่มเรียนในชั้นประถมปีที่ 1 แต่ครูปฐมวัยสามารถสอนได้โดยเน้นส่วนรวม (The Whole Object) ให้เด็กเห็นก่อน มีการลงมือปฏิบัติเพื่อให้เด็กได้เข้าในความหมายและมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับครึ่งหรือ1/2
11. การทำตามแบบหรือลวดลาย (Patterning) เป็นการพัฒนาให้เด็กจดจำรูปแบบหรือลวดลาย และพัฒนาการจำแนกด้วยสายตา ให้เด็กฝึกสังเกตฝึกทำตามแบบและต่อให้สมบูรณ์
12. การอนุรักษ์ (Conservation) ช่วงวัย 5 ขวบขึ้นไป ครูอาจเริ่มสอนเรื่องการอนุรักษ์ได้บ้าง โดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง จุดมุ่งหมายของการสอนเรื่องนี้ก็คือ ให้เด็กมีความคิดรวบยอดเรื่องการอนุรักษ์ที่ว่า ปริมาณของวัตถุจะยังคงที่ไม่ว่าจะย้ายที่หรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม

หลักการพัฒนาการความสามารถทางคณิตศาสตร์ตามแนวทางการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัย  
1.เด็กเรียนจากประสบการณ์ตรงจากของจริง เริ่มจากการสอนแบบรูปธรรม คือ
  1.1ขั้นใช้ของจริง เมื่อจะให้เด็กนับหรือเปรียบเทียบสิ่งของควรใช้ของจริง เช่น ผลไม้ ดินสอ
  1.2ขั้นใช้รูปภาพแทนของจริง ถ้าหากหาของจริงไม่ได้ก็เขียนรูปภาพแทน
  1.3ขั้นกึ่งรูปภาพ เช่น สมมติเครื่องหมายต่างๆแทนภาพหรือจำนวนให้เด็กนับหรือคิด
  1.4ขั้นนามธรรม เป็นขั้นสุดท้ายี่จะใช้ เช่น เครื่องหมายบวก-ลบ
2.เริ่มจากสิ่งง่ายๆใกล้ตัวเด็กจากง่ายไปยาก
3.สร้างความเข้าใจและรู้ความหมายมากกว่าให้เด็กท่องจำ
4.ฝึกให้คิดจากปัญหาในชีวิตประจำวันของเด็ก เพื่อขยายประสบการณ์ให้สัมพันธ์กับประสบการณ์เดิม
5.จัดกิจกรรมให้เด็กเกิดความสนุกสนานและได้รับความรู้ไปด้วย เช่น
  5.1เล่นเกมต่อภาพ เช่น จับคู่ ต่อตัวเลข
  5.2เล่นต่อบล๊อก มีขนาดรูปร่างขนาดต่างๆ
  5.3การเล่นมุมในบ้าน เช่น เล่นขายของ
  5.4แบ่งสิ่งของเครื่องใช้ เช่น การแลกเปลี่ยนสิ่งของกัน 
  5.5ท่องคล้องจองเกี่ยวกับจำนวน
  5.6ร้องเพลงเกี่ยวกับการนับจำนวน
  5.7เล่นทายปัญหาแลตอบปัญหา

ประเมินตัวเอง:เข้าใจ ตั้งใจฟัง

ประเมินเพื่อน:เพื่อนให้ความร่วมมือในการตอบดีค่ะ

ประเมินอาจารย์:สอนเข้าใจ อธิบายทุกหัวข้อในพอยด์ 

วันเสาร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ครั้งที่ 5
วันศุกร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2561
➡ วันนี้อาจารย์ได้ให้เพื่อนเลขที่ 1-2 ออกมานำเสนอบทความและการวิจัยเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ทางคริตศาสตร์ของเด้กปฐมวัย เพื่อนรายงานเสร็จอาจารย์ได้ให้คำแนะนำและได้ให้เพื่อนที่นำเสนออาทิตย์ถัดไปไปปรับปรุงแก้ไขกันต่อไป



หลังจากนำเสนองานเสร็จเรียบร้อยอาจารย์ได้จำลองสถานการณ์คนที่ชอบกินส้มตำกับลาบไก่ เป็นการสอนหลักการ 1 ต่อ 1 โดยให้นักศึกษาออกไปจับคู่ จับแล้วเหลือส้มตำ แสดงว่าจำนวนที่เหลือมีมากกว่า เป็นการสอนจำนวนมากกว่าน้อยกว่าเป็นการจัดกิจกรรมให้เด้กปฐมวัยเห็นได้อย่างชัดเจนมากขึ้น 

➡งานชิ้นแรกในคาบ อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทำคำถามโดยมีคำถามว่า คณิตศาสตร์อยู่ทุกหนแห่ง
อาจารย์ให้เขียนลงในกระดาษที่ได้แจกไว้ให้และให้นักศึกษาบอกด้วยว่ามีอยู่ที่ไหนพร้อมอธิบายและอีกกหนึ่งคำถามคือ นักศึกษาใช้คณิตศาสตร์เมื่อไรบ้าง? 


➡ก่อนจะหมดคาบ อาจารย์ได้เปิดเพลงให้นักศึกษาปรบมือตามจังหวะของเพลงและให้เขียนจังหวะของเพลงโดยให้เขียนเป็นสัญลักษณ์ตามท่าที่เราได้ทำและสุดท้ายอาจาย์ได้ให้นักศึกษาทุกคนร้องเพลงเกี่ยวกับคณิตศาสตร์

ประเมินตัวเอง:ตั้งใจเรียน ทำตามที่อาจารย์สั่งทุกงาน 

ประเมินเพื่อน:เพื่อนคุยกันเยอะหน่อยแต่ก็ทำงาน ช่วยกันตอบคำถามอาจารย์

ประเมินอาจารย์:อาจารย์มีกิจกรรมสอดแทรกอยู่เสมอ ให้คำแนะนำทุกข้อ 




วันเสาร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ครั้งที่ 4
วันพุธที่ 31 มกราคม 2561
➡วันนี้อาจารย์ได้แจกกระดาษคนละหนึ่งแผ่นและให้มาขาด 1 แผ่น อาจารย์จะสอนเกี่ยวกับจำนวนกระดาษที่มากกว่าน้อยกว่าและอาจารย์ได้ให้พับกระดาษ A4 เป็นสองส่วนโดยให้พับหลายๆครั้งแต่ไม่กำหนดว่าสองส่วนต้องเท่ากันต่อมาอาจารย์ได้สอนตั้งคำถามโดยให้ข้อมูล ดังนี้
คณิตศาสตร์ เป็นเครื่องมือในการหาค่าต่างๆ
เด็กปฐมวัย พัฒนาการเชื่อมโยงกับการทำงานของสมอง

พัฒนาการ คือ การแสดงออกหรือพฤติกรรมที่แสดงออกตามความสารารถในแต่ละลำดับระดับอายุ คือ ร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม สติปัญญา

ประสบการณ์ พัฒนาการด้านสติปัญญา (เพียเจท์) Sensoro-Motor Stage ขั้นแรก (แรกเกิด-2ปี) ขั้นรับรู้โดยประสาทสัมผัสทั้ง 5 เมื่อความรู้ใหม่สอดค้องกับความรู้เดิม จะเกิดเป็นความรู้ใหม่


ประเมินตัวเอง:ตั้งใจเรียนตั้งใจฟังตั้งใจทำตามที่อาจารย์สั่ง

ประเมินเพื่อน:เพื่อนมีส่วนร่วมในการทำงานเป็นอย่างดีให้วามคิดเห็นตอบคำถามตามที่อาจารย์ได้ถาม

ประเมินอาจารย์:อาจารย์อธิบายเข้าใจ ได้ให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมนอกเหนือจากในห้อง